Translate

วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การแข่งขัน CQ WW CW 2017 (รหัสมอร์ส)


          วันนี้มีเวลาว่างอยู่นิดหน่อยเลยอยากเขียนเกี่ยวกับรายการการแข่งขันวิทยุรายการใหญ่รายการหนึ่ง นั้นก็คือ
CQ WW CW 2017  (รหัสมอร์ส)

ครับตามที่เกริ่นไว้ด้านบนนั้นได้เข้าร่วมเป็นตัวแทนของสมาคมวิทยุแห่งประเทศไทยฯแข่งขัน โดยใช้คอลซายน์ HS0AC ในทีมประกอบไปด้วย HS1FVL, HS5NMF, E29BUQ



อ่อลืมบอกไปอย่างว่า รายการนี้จะเป็นรายการแรกในการทดสอบสถานีของสมาคมวิทยุฯใหม่ ที่เปลี่ยนจาก AIT (รังสิต-ปทุม) มาเป็น ม.ราชพฤกษ์ (แถวนครอินทร์-นนทบุรี) โดยลงแข่งขันในคลาส Multi - Low  power (ใช้กำลังส่ง่ต่ำ 100 วัตต์ )

ครับเริ่มสตาร์ทแข่งขันตามเวลากำหนดโดยน้าแดง HS5NMF เดินเครื่องไปก่อนพร้อมไหลไปเรื่อยจนกระทั่งผมเสร็จธุระและเข้าไปถึงที่ ม.ราชพฤกษ์ ประมาณ 10.30 น. ก็เริ่มซีคิวยาวพร้อมยิงตัวคูณไปพร้อมโดยสลับกับน้าแดง และช่วงบ่ายแก่ๆ พี่แจ็ค HS1FVL ได้เข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน จากนั้นก็สลับหน้าที่กัน ให้หูได้พักผ่อนบ้าง

หลังจากจบการแข่งขันครั้งนี้ ก็ทำให้เราพอทราบประสิทธิภาพของสถานีโดยใช้กำลังส่งต่ำรวมทั้งสายอากาศที่ติดตั้ง ประกอบไปด้วย สายอากาศ A4S, Hexbeam, Dipole 7 Mhz และ 3.5 Mhz


ปรากฏว่า ทุกอย่างผ่านไปด้วยดีรวมทั้งผลคะแนนที่ออกมาก็พอหายเหนื่อยกันบ้างครับ


วันอังคารที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เรื่องข้อเสียของการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นใหม่ (New Ham)

วันนี้มาว่าด้วยเรื่องสั้นๆ คือ เรื่องข้อเสียของการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นใหม่ (New Ham)
นั้นเราจะสามารถจะทำอย่างไรให้เราเป็นนักวิทยุสมัครเล่นทีไม่แย่เกินไปในสายตาของคนอื่นๆ
            เอาล่ะมาเริ่มกัน  อันดับแรกเราต้องเคลียร์กับแม่บ้านอันเป็นที่รักของเราก่อนว่าต่อไปนี้พี่ได้เป็นแฮมเต็มขั้นแล้วนะ จะต้องมีกิจกรรมนู้นนี่นั้นและต้องออกสังคมเพิ่มขึ้น และที่สำคัญจะต้องมีค่าใช้จ่ายจิปาถะ ไม่ว่าเป็นเรื่องซื้อเครื่องวิทยุ สายอากาศ และอีกจิปาถะ มาถึงตรงนี้ถ้าแม่บ้านไม่ว่าอะไร ก็ผ่านมาสเตปสองเลย
สเตปสองเมื่อเราได้เป็นแฮมเต็มตัวแล้วพร้อมที่จะออกอากาศ  เบื้องต้นนั้นเราต้องรู้จักเครื่องของเราให้ดีก่อน เช่น ฟังค์ชั่นการใช้การต่างๆ ให้เข้าใจเป็นอย่างดี เพราะบางสถานี(บางคน)จะถนัดแต่ละโหมดไม่เหมือนกัน เช่น บางท่านถนัดรหัสมอร์ส ก็ต้องศึกษาฟังค์ชั่นนั้นๆ ให้เข้าใจก่อนจะได้ดึงประสิทธิภาพของเครื่องมาได้เต็มที่และคุ้มค่าเงินที่เราเสียไป

สเตปสาม สายอากาศนั้นสำคัญมาก เบื้องต้นเราอาจจะใช้สายอากาศที่เป็นพื้นฐานสายอากาศเทพทั้งหลายที่มีขายตามท้องตลาดก่อน นั้นก็คือ สายอากาศที่เรารู้จักกันดี คือ สายอากาศไดโพล นั้นเอง ก็อีกนั้นและครับคือเราต้องรู้จักสายอากาศกันก่อน เพราะอะไร ก็เพราะว่า เราจะได้ทราบว่าสายอากาศที่เรามีมันทำงานอย่างไร แพทเทรินเป็นบบไหน ให้มุมยิงต่ำหรือสูง หรือจะขึงแบบไหนถึงจะดี เป็นต้น  ถ้าสายอากาศติดตั้งไม่ดีนั้นปัญหาจะตามตัวมาติดๆ กันเลยทีเดียวเพราะว่าจะไม่ทราบว่าสัญญาณไปรบกวนเพื่อนบ้านไหม เพิ่มเติมจากตรงนี้ก็คือเรื่องกราวนด์เป็นสิ่งจำเป็นต้องมี ครับปัญหาจะเริ่มมาจากตรงนี้กันละ เพราะเพื่อนรักจะกลายเป็นเพื่อนแค้นเรียกว่าตายไม่เผาผีกันเลยทีเดียว
สเตปสี่ อันนี้เป็นเรื่องสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมวิทยุสมัครเล่นฯ กันเลยก็ว่าได้ นั้นก็คือ เรื่องมารยาท ครับทำไหมถึงเป็นเรื่องสำคัญ ก็เพราะว่าบางท่านมีอีโก้สูงมาก มั่นใจการเล่นวิทยุของตัวมาเต็มที่ เชื่อมั่นตัวเองมาเต็มร้อย ว่าเป็นเรื่องง่ายๆ  ว่าผมเล่นมานานแล้วเป็นสิบๆ ปี ครับไอ้คำนี้แหละครับตกม้าตายสิครับงานนี้  แต่ไม่เป็นไรถือว่ามีพื้นฐานกันอยู่บ้างมาปรับเปลี่ยนออกอากาศ ย่านเอชเอฟกันได้  วกเข้าเรื่องมารยาทกันดีกว่า ตรงจุดนี้เราต้องศึกษากันว่าเราจะซีคิวอย่างไรไม่ไปทับหรือบี้สถานีอื่นๆ ที่ออกอากาศก่อนหน้าเรา ง่ายๆ กันก่อนเลยเราสามาถเช็คที่เวบดีเอ็กซ์ คัสเตอร์ทั้งหลายก่อนก็ว่าได้ แต่ไม่มีเวบที่ดูได้ในขะณะนั้น เราก็ลองถามว่า(โดยส่วนมากเล่นกันไม่น่าเกิน 100 วัตต์ แต่ถ้าไปลงท่ออากาศเดียวกันก็เป็นเรื่องได้เหมือนกัน) หรือเราจะเป็นผู้ล่ากันบ้าง ก็ต้องดูว่าเขามีอัพ หรือซิมเพล็กซ์ หรือเปล่า เขาเรียกเฉพาะประเทศหรือเปล่า ให้เราฟังและฟังก่อนออกอากาศกันก่อนเสมอ ไม่ใช่กูเปิดเครื่องได้ เครื่องกูพร้อม สายอากาศกูพร้อม จัดเต็มกันไปสุดท้ายหงายเขียงโดนเขาด่ากลับไม่ดูดินฟ้าอากาศหรือไงว่าเขาทำอะไรกันบนความถี่ ครับว่ากันมาถึงตรงนี้กว่าจะออกอากาศกันได้ก็ถือว่าลำบากลำบนกันพอสมควร แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคที่เราออกอากาศกัน
อันที่สำคัญที่จะแนะนำกันไว้ สำหรับมือใหม่ทั้งหลาย ให้ผู้ที่เป็นแฮมเก่าและพอมีประสบการณ์ในการออกอากาศทั่วไป และการแข่งขันมาบางแล้วให้เขาแนะนำ แต่ถ้าเราไม่ชั่วกับคำตอบให้สอบถามคนอื่นๆ ดูว่าที่เรามีความรู้อยู่นั้นว่าถูกต้องไหม ไม่ว่าเป็นเรื่องโฟนเนติคออกเสียงถูกต้องไหม เป็นต้น เราจะไดไม่พลาดเป็นเหยื่อทางอากาศ.

สรุป: ไม่รู้ให้ถามเยอะๆ เลือกบุคคลที่ถามกันด้วยนะครับ บางคนทราบนิดเดียว หรือไม่มีความชำนาญ ก็อาจพากันไปลงเหวได้ ครับวันนี้พิมพ์ยาวเลย ยังๆ ไม่จบครับ ยังมีอีกเยอะ ที่ผมเขียนนี้เป็นเพียงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเท่านั้น.

วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2560

Morse code 20 WPM

วันนี้ว่างๆ เลยลองแกะมอร์ส ที่ 20 คำ เพื่อเป็นการประเทืองสมอง เนื่องจากห่างหายไปหลายเดือน ทั้งๆ ที่ มีเรื่องราวมากมาย มาให้เขียนเล่นของวงการวิทยุสมัครเล่นไทย เช่น มีการสอบเป็นขั้นสูงของไทยรุ่นแรก และยังมีวิทยุที่เข้ามาใหม่ เช่น ICOM-7300 ที่ทาง บ.ยีซีมอนฯ ได้นำมาให้บรรดานักวิทยุสมัครเล่นทั้งหลายได้ครอบครองกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ณ ตอนนี้เป็นเครื่องที่ทันสมัยที่สุด ที่สำคัญได้ทางบริษัทฯ ได้ดั๊มราคาถูกกว่าต่างประเทศ ผมก็เป็นหนึ่งในหลายคนที่หามาครอบครองพร้อมอัพเดตเป็นขั้นสูงกับเขาด้วย ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า 2 เรื่อง่ที่กล่าวมา นั้นคือ ทาง กสทช. ไดอนุญาติให้นักวิทยุสมัครเล่นขั้นสูงของไทย ให้ได้ใช้กำสังส่ง 1000 วัตต์ อืม ปีนี้เป็นปีทองของวงการก็ว่าได้ และอีกหลายเรื่องๆ ที่ไม่ได้นำเสนอ เอาเป็นว่านับจากวันนี้ไปจะมาเขียนเรื่องราวที่ได้ประสบมาเขียนทิ้งขว้างมาให้อ่านเล่นเพลินกัน.
ประเด็นวันนี้ก็คือได้ลองแกะรหัสมอร์สที่ความเร็ว 20 คำ ลองศักษากัน ผมจะสังเกตุเรื่องไทม์มิ่งเป็นสำคัญ


BT Now 20wpm BT the tap positions rather easily. The completed coil sat on a shelf for a few months while I pondered how to acquire the variable capacitors needed for the project. One of the capacitors has an unusual layout using two split stators a total of four capacitors in one. Finally procured a very ugly looking Johnson matchbox in a state of disrepair that gave me the two output capacitors. I was able to do a trade with a friend to obtain a nice capacitor for the input side of the circuit. I will not describe the details of its construction here, as they are available on my website. The tuner worked. It was large, since i had assembled it on a wood plank in breadboard style see figure 2. It tended to work on each band near the coil tap positions recommended by Cebik.  I used this tuner with my 100 w BT  end of 20 wpm text BT QST de W1AW

วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

My DXCC!!

ช่วงนี้ได้รับข่าวดีบ่อยๆ เช่น เมื่อวานซืนได้รับพัสดุจาก ARRL เป็นบ้องข้าวหลาม แวบแรกที่เห็นลุ้นในใจว่าน่าจะใช่แล้วละ ค่อยบรรจงเปิดดู โอ้แม่เจ้า!!! เป็นจริงดังคาดไว้ สมหวังแล้วละงานนี้ หลังจากพยามอยู่เป็นปี ในที่สุดก็สำเร็จ




สำหรับงานนี้ตองขอบคุณพิเศษบุคคลเหล่านี้: 

1.E21AOY ครับ เป็นคนแนะนำและสอนเพิ่มเติม CW
2.E21EIC ต้องบอกว่าเป็นไอดอลละครับ ตอนแรกที่เจอคนนี้ใครกัันหว่าและเป็นบุคคลที่แนะนำให้ผมไม่แตกแถว และอีกหลายๆ เรื่อง
3.E20MIO ครับพี่หมอโด่งนี้จะคุ้นเคยกันสมัยเล่น CB กันมา จนมาสอบขั้นกลางของไทยก็ผ่านกันได้ทั้งคู่ จน ณ ปัจจุบันก็ได้ขั้ืนสุงสุดของอเมริกาทั้งคู่ (EXTRA)
4.HS1FVL ด็อกเตอร์แจ็ค เป็นบุคคลที่ค่อยชี้และแนะนำในเรื่องวิชาการต่างๆ ทั้งนี้ได้ลุยพร้อมกันของการเล่นคอนเทสต่างๆ 
5.E20HHK แหมบุคคลนี้จะขาดไม่ได้เลย ต้องเรียก คัมภีร์นักคอนเทสได้เลยครับ ผมจะเรียนรู้จากพี่ชุนในเรื่องการเล่นคอนเทสต่าง ติดขัดตรงไหน หรือจะทำอย่างไรในขณะเล่น ให้ผลที่ได้ออกมาดี
6.E21IZC ครับสำหรับพี่โทนี่ เรียกว่าเป็นบุคคลที่ทำให้ผมเห็นการเล่น CW Mode เป็นสิ่งที่มีเสน่ห์อย่างมากที่งานสอบนักวิทยุสมัครเล่นที่ จังหวัด สมุทรสาคร ผมได้ถ่ายคลิปวันนั้นไว้ด้วย 


วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

กิจกรรมแฮมขั้นกลาง

กิจกรรมต่อไปนี้ ซึ่งผมไม่อยากเรียกว่าเป็นกิจกรรมของนักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางเลย เพราะในต่างประเทศ ผู้ได้รับใบอนุญาตย่านความถี่ VHF ก็ทำกิจกรรมแบบนี้ได้เช่นกัน เพียงแต่ทำงานคนละความถี่

1.       การติดต่อระยะทางที่ไกลกว่า
สำหรับผู้ที่ชอบติดต่อหาเพื่อนทางไกล การติดต่อสื่อสารโดยใช้ย่านความถี่ HF จะทำให้ท่านติดต่อกันกว้างไกลทั่วโลก ท่านอาจมีเพื่อนในที่ที่บนแผนที่โลกมีขนาดเท่ากับจุดปลายดินสอบก็ได้ ท่านจะรู้จักกับประเทศที่เพื่อนท่านไม่เคยได้ยินเลย
2.       ร่วมเข้าแข่งขันติดต่อทางไกล (Contest)
Contest ในความหมายของนักวิทยุสมัครเล่นหมายถึง การแข่งขันการติดต่อทางไกลให้ได้จำนวนสถานีวิทยุสมัครเล่นและจำนวนประเทศให้มากที่สุด ภายในระยะเวลาจำกัด อาจเป็นเวลา 12 หรือ 24 ชั่วโมงต่อเนื่องกัน สมาคม องค์กร หรือนิตยสารที่เป็นเจ้าของโครงการจะกำหนดกติกาต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นพัฒนาขีดความสามารถของสถานี และตัวนักวิทยุสมัครเล่นเอง
รางวัล (Contest Award) ก็คือกระดาษใบเดียว แต่มีนักวิทยุสมัครเล่นจำนวนมากทั่วโลก อยากได้ไว้เชยชม รายการ Contest ใหญ่ ๆ เช่น IOTA Contest, CQ worldwide Contest เป็นต้น จะมีนักวิทยุสมัครเล่นทั่วโลก หรือสัญญาณเรียกขานประเทศที่หายากเข้าร่วมการแข่งขันมาก
ท่านอาจเข้าร่วมกันแข่งขันเองตลอดระยะเวลาการแข่ง หรือมีส่วนร่วมโดยไม่หวังเอาคะแนนก็ได้ ขณะเดียวกันก็ถือโอกาสทดสอบประสิทธิภาพของสถานีไปในตัว
3.       DX-pedition
การทำ DX-pedition หมายถึงการออกไปตั้งสถานีในที่ที่ยังไม่เคยมีหรือมีนักวิทยุสมัครเล่นอยู่น้อยมาก เพื่อให้เพื่อนนักวิทยุสมัครเล่นมีโอกาสแลกเปลี่ยนQSL Card เพื่อประโยชน์ใช้ประกอบการขอรางวัลต่าง ๆ การทำ DX-pedition ส่วนใหญ่ทำภายใต้โครงการของ DXCC กับ IOTA
DXCC (DX Century Club) เจ้าของสมาคมวิทยุสมัครเล่นอเมริกา (ARRL) เราต้องไปตั้งสถานีและออกอากาศในประเทศที่ยังไม่มีนักวิทยุสมัครเล่นอยู่เลย ค่อนข้างจะหายาก หรือไปทำซ้ำในประเทศที่มีนักวิทยุสมัครเล่นแล้วแต่ออกอากาศน้อยมาก หรือบางบริเวณที่ยังไม่เคยมีนักวิทยุสมัครเล่น 

โครงการ IOTA (Island On The Air) ของสมาคมวิทยุสมัครเล่นอังกฤษ (RSGB) เกาะไหนมีผู้ไปออกอากาศแล้ว ทางผู้รับผิดชอบก็จะออกหมายเลขประจำเกาะให้ เกาะที่ได้หมายเลขแล้ว ก็สามารถไปทำซ้ำใหม่ได้ 
การทำ DX-pedition แต่ละครั้ง นอกจากต้องมีความสามารถแล้ว ยังต้องมีความสามารถในการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงอีกด้วย บางกลุ่มจึงจำเป็นต้องหาผู้สนับสนุน ซึ่งอาจสนับสนุนเรื่องอุปกรณ์หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แล้วแต่กรณี การทำ DX-pedition โดยการขนคนไปเยอะ ๆ แต่มีคนออกอากาศน้อย  คุณเกษม HS1CDX ท่านเรียกว่า DX convention หรือผมเรียกว่า DX เปลี่ยนที่กินเหล้า
หากท่านไม่ต้องการเป็นผู้ทำ DX-pedition เอง แต่ท่านสนใจที่จะติดต่อกับสถานี DX-pedition ท่านจะทราบข่าวความเคลื่อนไหวที่ Update ตลอดเวลา ได้ที่http://www.425dxn.org ที่ Website นี้ยังมีบริการเรื่อง DX SPOT ซึ่งจะมีผู้แจ้งเข้าไปว่า ขณะนี้ สถานีใคร กำลังออกอากาศที่ความถี่อะไร ติดต่อกับสถานีไหน ผู้แจ้งข้อมูลได้ยินระดับความแรงสัญญาณเท่าใด ซึ่งจะช่วยให้ท่านติดต่อกับสถานีที่ต้องการโดยไม่ต้องเสียเวลาหมุนหาความถี่ ขณะเดียวกัน ยังตรวจสอบการทำงานย้อนหลังได้อีกด้วย ท่านทดลองพิมพ์สัญญาณเรียกขานที่ท่านรู้จัก หากสัญญาณเรียกขานนี้มีการออกอากาศ ก็จะมีรายการออกมาให้ท่านเห็น
อนึ่ง ผู้รายงานเข้าไปนั้น ทำไปเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้เพื่อน ๆ ที่อาจจะติดต่อกับสถานีนั้น ๆ แต่ไม่ทราบว่า เจ้าของสัญญาณเรียกขานนั้น ได้รับอนุญาตตามกฎหมายหรือไม่ เพราะฉะนั้น ใครที่กำลังคิดว่าโลกนี้ใหญ่โตมโหฬาร มีความลับอยู่มากมาย ออกอากาศโดยที่ตัวเองยังสอบไม่ผ่านหรือไม่ได้รับอนุญาต ก็ต้องรับผิดชอบตนเองนะครับ 

4.       ตามล่า Beacon
บางท่านอาจชอบฟังมากกว่าคุย ท่านก็มีสิทธิทดสอบประสิทธิภาพของสถานีของท่านเช่นเดียวกัน สถานี Beacon อาสาสมัคร ซึ่งกระจายอยู่ทุกภูมิภาคของโลก ภายใต้โครงการของสมาพันธ์นักวิทยุสมัครเล่นนานาชาติ (IARU-International Amateur Radio Union) ทำการส่งข้อความออกอากาศทางเดียว หากท่านสามารถรับสัญญาณ Beacon ได้จากที่ใด ก็แสดงว่า สถานีของท่านมีโอกาสติดต่อกันแบบ 2 ways ได้เช่นเดียวกัน
หากว่าเราไม่มีข้อมูลสภาวะชั้นบรรยากาศที่มีผลต่อการติดต่อสื่อสารย่านความถี่ HF (Propagation) บางคนอาจใช้สถานี Beacon เป็นตัวคาดคะเนความเป็นไปได้ในการติดต่อสื่อสารให้สำเร็จ
5.       สะสม QSL Card
เมื่อก่อนนี้ ยุคที่การติดต่อสื่อสารยังไม่เสถียรภาพ เมื่อนักวิทยุสมัครเล่นติดต่อกันได้เป็นครั้งแรก จะขอแลกเปลี่ยน QSL card เพื่อยืนยันว่าได้ติดต่อกันจริง และเก็บไว้เป็นความภูมิใจ ต่อมาก็เพื่อเป็นหลักฐานในการขอรับรางวัล (Award) ซึ่งออกโดยสมาคม หรือนิตยสารที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุสมัครเล่น
นอกจากนี้ QSL Card ยังเป็นของสะสะมีค่าชิ้นหนึ่ง เนื่องจาก มีนักวิทยุสมัครเล่นกระจายอยู่ทั่วทุกแห่งในโลกนี้ แตกต่างทั้งเผ่าพันธุ์ สีผิว ภาษา สังคม วัฒนธรรม และลักษณะทางภูมิศาสตร์ ข่าวสารไม่แพร่หลาย รูปภาพที่ปรากฎบน QSL Card จึงมีเรื่องราวที่น่าสนใจไม่น้อย นอกเหนือจากข้อความบังคับที่ใช้ในการยืนยันการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
ปัจจุบัน การติดต่อสื่อสารที่มีคุณภาพ ยุคของสังคมข่าวสาร ทำให้ความจำเป็นในการแลกเปลี่ยน QSL Card มีน้อยมาก นอกจากพวกที่ต้องการนำไปขึ้นรางวัล อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์และส่งแต่ละใบก็ค่อนข้างสูงมาก ท่านลองคิดดูว่า ค่าพิมพ์ QSL Card ตั้งแต่ใบละ 1-5 บาท และค่าจัดส่งอีกใบละ 2บาททั่วโลก (อัตรานี้ส่งผ่าน RAST) หากท่านออกอากาศ 2000 QSO ต่อเดือน ท่านต้องจ่ายเท่าไหร่ครับ
6.       รางวัล (AWARD)
รางวัล หรือ AWARD คือกระดาษที่ประกาศรางวัลที่ออกโดยสมาคมหรือนิตยสารเจ้าของรางวัล ไม่มีราคาค่างวดอะไร แต่กระดาษแผ่นนี้มีความหมายต่อนักวิทยุสมัครเล่นมากทีเดียว บางรางวัลท่านเล่นมาค่อนชีวิต ยังไม่สามารถทำได้เลย รางวัลคงต้องแยกออกเป็น 2 แบบ คือ
1.       Contest Award คือรางวัลที่ออกให้กับผู้ที่ชนะการแข่งขัน Contest ในรายการต่างๆ
2.       Award ทั่วไป คือ รางวัลที่ออกให้กับผู้ที่สามารถทำได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด สมาคมและนิตยสารส่วนใหญ่จะออกรางวัล Award แบบนี้ เช่น
DXCC Award เป็นรางวัลที่ออกโดยสมาคมวิทยุสมัครเล่นอเมริกา (ARRL) ออกให้กับผู้ที่สามารถติดต่อกับประเทศที่กำหนดไว้จำนวน 100, 200, 300 ประเทศ
IOTA Award เป็นรางวัลที่ออกโดยสมาคมวิทยุสมัครเล่นอังกฤษ (RSGB) ออกให้กับผู้ที่สามารถติดต่อกับเกาะที่กำหนดไว้จำนวน 100, 200, 300,  เกาะ
Siam Award เป็นรางวัลที่ออกโดยสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์ (RAST) ออกให้กับผู้ที่สามารถติดต่อกับนักวิทยุสมัครเล่นไทยจำนวน 10 สถานี
ความยากง่ายของรางวัล ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของรางวัลจะวางกติกาไว้อาย่างไร แถมอีกนิด ทุกรางวัลไม่ว่าจะยากหรือง่าย ท่านต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการของรับรางวัลด้วยนะครับ
7.       Eyeball QSO
ท่านอาจคิดไม่ถึงว่า ในระดับนานาชาติก็มีงาน Eyeball QSO เหมือนกัน สมาชิกในกลุ่มประเทศอาเชี่ยน ได้จัดให้มีการประชุมและพบปะสังสรรค์กันSEANET Convention โดยผลัดกันเป็นเจ้าภาพ ติดต่อกันมา 30 ปีแล้ว ดังเช่นเมื่อปี 2000 สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์(RAST) ได้รับมอบหมายจากเพื่อนสมาคมฯ ให้เป็นเจ้าภาพระหว่างวันที่ 17-19 พฤศจิกายน ปี 2000 ที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 200ท่าน มาจากประเทศต่าง ๆ กว่า 20 ประเทศ 

CR: ข้อมูล HS1ASN http://www.songjiangmall.com/mid_act.htm

Find out to new location record. FT-817.

ครับวันที่ผ่านมา 27/09/2014 ว่างช่วงบ่ายเลยไปลองๆ หาสถานที่ใหม่เล่น หา่งออกไปจากที่เดิม(ชายเลบางขุนเทียน) ไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร ปรากฎว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจในความแตกต่าง ผลที่ได้ตามคลิปครับ เล่นแบบหาสถานที่เผื่อไว้วันหน้า (ช่วงสั้นๆ)


1.JH1RZF
2.DU1KA
3.YT9M

แต่ละคนมาดังมาก..
วันไหนว่างๆ อีก จะไปเก็บบรรยากาศมาฝากครับ